วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

นักสร้างภาพ (อาหาร) ไอซีที

นักสร้างภาพ (อาหาร)
ทำอาหารอร่อย ก็ใช่ว่าจะมีชื่อเสียงโด่งดัง ถ้าไม่รู้จัก “สร้างภาพ (ลักษณ์)” เป็นมืออาชีพ เคล็ดลับจึงอยู่ที่ “ดีไซน์” หน้าตาอาหารให้โดดเด้ง และทำ “ตัวเอง”ให้มีอัตลักษณ์ หาใครลอกเลียนแบบได้ยาก

15 ปีที่อยู่ในธุรกิจและอุตสาหกรรม อาหาร ทำให้ ขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ กูรูนักสร้างภาพลักษณ์อาหารชื่อดัง มอง สถานการณ์ตลาดอาหารอย่างทะลุปรุโปร่ง ไม่ว่าจะอาหารมาจากภัตตาคารหรือร้าน ตลาดล้วนฟ้องด้วยหน้าตาเป็นสำคัญ

อ้างอิงตัวอย่าง'สากล'
“อาหารเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ คำว่าศาสตร์อยู่ที่สูตรใครสูตรมัน มีโนว์ฮาวกันอยู่แล้ว ส่วนเรื่องของศิลป์ ขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว ซึ่งจะต้องก้าวไปสู่สากลให้ได้โดยใช้ดีไซน์มาปรับ” กูรูด้านการออกแบบและตกแต่งอาหารกล่าว
เรื่องการออกแบบเป็นเรื่องที่เรียนรู้กันได้ บางคนอาจใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์ด้วยตนเองจนเชี่ยวกรำ แต่นั่นไม่ใช่ประตูปิดตายสำหรับคนที่ต้องการเป็น “เชฟมือทอง” เพราะการดีไซน์อาหารให้สากลนั้นเป็นเรื่องง่าย ซึ่งเคล็ดลับอยู่ที่การศึกษา “ระบบการจัดการเชิงศิลปะ”
สุทธิพงษ์ เผยว่า ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจหลักการและทิศทางของศิลปะอาหาร ผู้เกี่ยวข้องด้านอาหารต้องยึดหลักมาตรฐานสากล อย่าง Fresh & Simply ซึ่งพิจารณาได้จากเชฟหรือพ่อครัวทำอาหารอร่อย สูตรเด็ดของพวกเขาคือการใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ ส่วนความเรียบง่ายคือตรรกะของศิลปะ ซึ่งตรงกับเทรนด์แฟชั่นในตอนนี้ที่ว่า สูงสุดคืนสู่สามัญ
ทั้งนี้ ตัวอย่างผู้ทรงอิทธิพลด้านอาหารระดับโลก เช่น ในอังกฤษ Jamie Oliver สามารถผสมผสานความเป็นธรรมชาติและความทันสมัยของวัตถุดิบได้อย่างลงตัว ส่วนทางฝั่งอเมริกา ก็ต้องยกให้ Martha Stewart กับการใช้สไตล์ของตัวเองผลักดันภาพลักษณ์อาหารที่สดใหม่ ต่อด้วยออสเตรเลีย Donna Hay ใช้สีขาวเกลี้ยงเกลามาขับอาหารให้มีความโดดเด่น
นอกจากจะใช้สูตรสำเร็จของ “คน” แล้ว การสร้างสรรค์อาหารฟ้องด้วยภาพ ยังสามารถดึงความสำเร็จของ “แบรนด์สินค้า” อื่นๆมาเชื่อมโยงอ้างอิงได้ด้วย เช่น Muji ที่มีความเรียบง่ายแต่มีดีไซน์ซุกซ่อนอยู่ หรือ Origins สามารถสื่อได้ว่าทุกอย่างมีจุดกำเนิดที่ความเรียบง่าย
ถึงแม้จะมีตัวอย่าง แต่เราไม่อาจก๊อปปี้ได้ทั้งหมด ฉะนั้นสิ่งที่ว่า “เรียบ” สุทธิพงษ์กลับบอกว่าไม่ “ง่าย” เมื่อต้องเอาตัวตนของคนทำอาหารใส่เข้าไปด้วย
สร้างอาหารอย่างมี'สเต็ป'
ในหลักสูตรอบรมอาหารฟ้องด้วยภาพ ซึ่งจัดโดยฟู้ดสไตลิสต์คนเก่ง จะเน้นให้ผู้เรียนเริ่มศึกษาตั้งแต่พื้นฐาน ละลายพฤติกรรมเดิมๆของตัวเองเสียก่อน เพื่อปูทางรับพื้นฐานด้านการสื่อสารอาหาร ด้วยสื่อต่างๆ อาทิ สิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
ตามด้วยหลักสูตรอาหารสร้างเซเลบ (Celebrity) เนื่องจากธุรกิจอาหารสามารถสร้างแบรนด์ด้วยตัวเจ้าของเอง หากแต่ต้องสร้างคุณค่าในตัวเองให้สูงขึ้น
“เราจะสอนกระบวนการอย่างเป็นระบบ (System) และเป็นขั้นเป็นตอน ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนสร้างเนื้อหาให้เป็นสื่อ ทั้งงานเขียน การถ่ายภาพ วิธีการโปรโมท เชื่อมโยงบุคคลกับการทำอาหาร และการควบคุมตัวเองต่อสื่อทีวี แล้วจึงมาถึงการตอกย้ำแบรนด์ด้วยตัวเจ้าของ หรือทำตัวเจ้าของให้เป็นคนดัง” สุทธิพงษ์ กล่าวและว่า ตัวเขาเองก็จะใช้สีขาว-ส้มเป็นสีประจำตัว
ส่วนท้ายสุดคือหลักสูตรอาหารช่วยสังคม ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ให้คนในวงการอาหารได้เข้ามามีส่วนร่วมใช้อาหารเป็นสื่อ อย่างสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนและระดมความเห็นที่หลากหลายของกันและกัน โดยอาศัยระบบเข้ามาจัดการเช่นกัน โดยเปลี่ยนความมีชื่อเสียงหรือศักยภาพนั้นให้เป็นประโยชน์เพื่อสังคม ในลักษณะ CSR ขององค์กร
“แม้ผู้เรียนจะเป็นเจ้าของร้านข้าวแกง ก็สามารถสร้างตลาดของตัวเองได้ด้วยการหาข้อเด่น แล้วก้าวเป็นเซเลบที่ช่วยสังคมได้พร้อมๆ กัน โดยชูจุดเด่นว่า ที่มาของข้าวมาจากชุมชนเกษตรอินทรีย์ทางภาคอีสาน ได้มีโอกาสช่วยเหลือเกษตรกร เราไม่จำเป็นต้องป่าวประกาศ แต่มันอยู่ที่กระบวนการสร้างคุณค่าให้กับอาหารของตัวเองอย่างแยบยล” ขาบ-สุทธิพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย

แต่งตัว"กรีนโชห่วย"ล.เยาวราชแตกต่างอย่างกลมกลืน

แต่งตัว"กรีนโชห่วย"ล.เยาวราชแตกต่างอย่างกลมกลืน
"ถ้าจะให้ผมทำ ต้องรีโนเวตร้าน"

นี่ คือ ข้อแม้ของ "อิ๊กคิว-ภาสประภา กันยาวิริยะ" ที่ตั้งไว้กับพ่อแม่ เมื่อรู้อย่างชัดเจนแล้วว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมารับหน้าที่ในฐานะเป็นทายาทรุ่นที่ 4 ของ "ล.เยาวราช" ร้านโชห่วยเก่าแก่แห่งย่านการค้าแห่งนี้

ร้านที่เต็มไปด้วยข้าวของ สารพัดอย่างครบครันร่วม 5,000 รายการ มียอดขายต่อปีอยู่ในหลัก "ร้อยล้านบาท" หากอยู่ในพื้นที่แสนแคบและขาดระบบโดยสิ้นเชิง

มีเพียงแต่ความเชี่ยวชาญ ชำนาญ และคุ้นชินของผู้ขายเท่านั้นที่จะรู้ว่า จะจัดสรรสินค้าอย่างไร รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนในร้าน

อิ๊ก คิวสังเกตเห็นว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าประจำ แถมจะมาซื้อแบบขายส่งมากกว่าขายปลีก เรียกได้ว่า ลูกค้าขายปลีกนั้นอย่าหวังเลยว่าจะมีวัยรุ่นเข้ามาซื้อหาของ นอกจากนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาซื้อของฝากเท่านั้น

เขาวิเคราะห์ แล้วว่า ปัญหาอยู่ที่จำนวนสินค้าที่มีเยอะแยะมากมายที่ถูกวางระเกะระกะไม่เป็นที่ จนลูกค้าไม่สามารถเลือกซื้อได้ อีกทั้งร้านยังปิดเร็วที่ไม่เกิน 20.00 น. ไม่สอดคล้องกับเวลาที่นักท่องเที่ยวที่ไปเยาวราชเลย

ตรงนี้ทำให้อิ๊กคิวเห็นแล้วว่า ถ้าตกทอดมาถึงรุ่นเขาแล้ว การค้าของ ล.เยาวราช อาจไม่รุ่งเรืองอย่างเช่นที่แล้วมา

"ผม เองก็ภูมิใจที่ร้านเราอยู่คู่เยาวราชมานาน แต่ถ้าจะให้ผมทำแบบนี้ ผมยอมรับเลยว่า ผมทำไม่ได้ และถ้าให้ผมทำตามแบบนี้ไปเรื่อยๆ ร้านอาจจะค่อยๆ ซบเซาลงก็เป็นได้"

"อีกประการหนึ่ง คือ เราเห็นลูกหลานร้านอื่นที่กิจการอื่นล้มหายตายจากไป เพราะลูกหลานไม่สืบต่อกิจการ ผมกลัวจุดนี้ เพราะเยาวราชก็เริ่มมีโมเดิร์นเทรดเข้ามาแล้วด้วย ผมจึงอยากสร้างโชห่วยที่อยู่มานานให้มีสีสันเพื่อที่จะได้อยู่คู่เมืองไทย ต่อไป"

ในฐานะคนรุ่นใหม่ เขาจึงเลือกที่จะคิดใหม่ ทำใหม่ โดยเขาไม่ได้คิดแค่จะเปลี่ยนแปลงแค่ร้านของเขา แต่เขาคิดที่จะพลิกโฉมเยาวราชให้แปลกและแตกต่างกว่าที่เป็นอยู่ โดยมองว่า เยาวราชก็ควรจะ "ชิก" ได้

"ผมสนใจเรื่องสไตล์ เพราะในปัจจุบันไม่ว่าทำอะไร เราต้องมีสไตล์ที่แตกต่าง โชห่วยของเราจึงต้องแปลกและโดดเด่น ทำให้คนมองเรื่องแบรนด์ เรื่องดิสเพลย์ เรื่องเหล่านี้จำเป็นมากในบ้านเรา"

อิ๊กคิว ยอมรับว่า เขาต้องใช้พลังมากมายในการเปลี่ยนความคิดของพ่อแม่ แต่เขาก็มีอาอี๊ คอยหนุนหลัง และในที่สุดอิ๊กคิวก็ชนะ

แต่...พ่อกับแม่ก็มีข้อแม้เช่นกัน "ทำก็ได้ แต่ห้ามปิดร้านสักวันเดียว"

ได้...อิ๊กคิว ตอบ

อิ๊กคิวตั้งคอนเซ็ปต์ของร้านนี้ให้ออกมาในรูปของ "กรีนเยาวราช" พร้อมกับจัดทำโลโก้เป็น "ดอกโบตั๋น" สีชมพูหวาน

"ผม ไปปรึกษาพี่ขาบ (สุทธิพงษ์ สุริยะ) ก็เห็นว่า เยาวราชนั้นไม่มีสีเขียวเลย มีแต่สีแดงๆ เต็มไปหมด ดังนั้น ถ้าเราเบรกด้วยสีเขียว โดยเราจัดพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้เป็นแนวดิ่งระตึกลงมา เพื่อเป็นปอดของเยาวราช มาตัดกับโลโก้ดอกโบตั๋นสีชมพู ร้านเราจะเด่นขึ้น"

ส่วน การตกแต่งภายในนั้น ในพื้นที่อันจำกัดร้านเล็กขนาดคูหาเดียว เขาวางไว้ว่าจะจัดให้สินค้าทั้ง 5,000 รายการนั้น อยู่ชิดผนังทั้งซ้ายขวาจัดให้เป็นเครื่องตกแต่งร้านเสีย ดังนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงผนังและติดชั้นวางของ รวมทั้งปรับเปลี่ยนสีใหม่ ด้วยใช้วิธีกั้นพื้นที่ยาวตลอดห้องทีละด้าน เพื่อให้ร้านยังสามารถค้าขายได้ทุกวันตามข้อแม้ที่วางไว้

นอกจากนั้น แล้ว "สี" ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เขาต้องต่อสู้อีกครั้ง เพราะเขาเลือกที่จะใช้ "สีดำ" ด้วยมีวัตถุประสงค์ที่จะขับสีสันของสินค้าในร้านให้โดดเด่นขึ้นมา อีกทั้งยังใช้ "โคมเขียว" แต่งที่เพดานร้านอีกด้วย

"ผมโดนตั้งแต่ใน บ้าน ญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่เขาจะเดินมาแล้วบอกว่า ผมทำอะไร ไม่เป็นมงคล หม่าม้าผมก็เหมือนกัน ผมก็เลยบอกไปว่า นี่มันเป็นสีเทาเข้มต่างหาก ดูดีๆ ไม่ใช่สีดำ (หัวเราะ) ส่วนเรื่องโคมเขียวนั้น อยู่ที่ไม่อยากปล่อยเพดานให้โล่ง จึงคิดใช้โคมไม้ไผ่จีนปิดกระดาษเขียวมาตกแต่ง ทำให้ร้านมีสีสันสวยงามมากยิ่งขึ้น"

อิ๊กคิว ใช้เวลาปรับปรุงร้านนานถึง 1 ปี กว่าจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมโชว์ภาพลักษณ์ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ พร้อมจัดหน้าร้านให้สวยงามเตะตา ด้วยจักรยานทรงโบราณประดับดอกโบตั๋น และตุ๊กตาหมี กลายเป็นจุดแวะถ่ายรูปโพสต์ขึ้นเฟซบุ๊กยอดฮิตบนถนนเยาวราชโดยบัดดล

อีก ทั้งยังแอบสร้างแบรนด์ โดยนำเอาขนมขบเคี้ยวที่ค้าขายอยู่แล้ว มาติดโลโก้โบตั๋นสีสวย สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า จนกลายเป็นสินค้าของฝากที่ขายดิบขายดีได้อย่างคาดไม่ถึง อีกทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนเครื่องหมายการค้าเป็น LOR YAOWARAJ BANGKOK อย่างเป็นทางการ

แม้รูปลักษณ์ร้านจะเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว แต่ ล.เยาวราช ยังคงยืนหยัดในความเป็นร้านโชห่วยที่เน้นขาย "ของดี" และ "ถูก" อย่างเหนียวแน่น โดยภาคกลางวันยังทำเรื่องของค้าส่งเช่นเดิม ส่วนภาคกลางคืน ล.เยาวราช ขยายเวลาเปิดร้านถึงเที่ยงคืนเพื่อให้สัมพันธ์กับเวลาของนักท่องเที่ยว

ผล จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ล.เยาวราช ไม่เพียงแต่จะคงรักษาลูกค้าดั้งเดิมไว้ได้ โชห่วยแห่งนี้ยังได้คนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวมาเป็นลูกค้าเพิ่มอีกมากมาย ช่วยกระตุ้นยอดขายปลีกให้ขยับขึ้นด้วย

ถึงเวลานี้อิ๊กคิวมั่นใจแล้วว่า แม้โมเดิร์นเทรดจะบุกเข้าเยาวราชสักแค่ไหน ล.เยาวราช ภายใต้การขับเคลื่อนของเขา ไม่มีกลัวอยู่แล้ว

"ผม ว่า โชห่วยแบบเดิมนี้มันมีเสน่ห์มากกว่าที่จะเข้าไปซื้อของในโมเดิร์นเทรด เพราะต้องบอกว่า คนขายของโชห่วยเขาเก่งมาก เขาจะรู้หมดเลยว่า สินค้าไหนเป็นอะไร ควรจะใช้อย่างไร อย่างเช่น เราจะไปซื้อซีอิ๊วสักขวด เราจะรู้ไหมว่า สูตรอะไร ฝาสีอะไรนั้นต่างกันอย่างไร คนขายเขาจะบอกจะแนะนำได้ ส่วนการบริการก็จะเป็นออกแนวครอบครัว รู้จักสนิทสนมกันหมดซึ่งเรื่องแบบนี้ โมเดิร์นเทรด ไม่มี"

นอกจากการ ขายส่งและขายปลีกในประเทศแล้ว โชห่วยแห่งนี้ยังมีการส่งออกไปตลาดต่างประเทศควบคู่ไปพร้อมๆ กัน โดยผ่าน บริษัท ล.ธนวงศ์ (1977) จำกัด อีกด้วย

นับเป็นความแตกต่างที่แสนจะกลมกลืนบนถนนสายนี้

คริสต์มาสฟู้ด สนุกสนานอาหารปาร์ตี้








เพิ่งจะฉลองคริสต์มาสไปหมาดๆ เทศกาลแห่งความสุขก็หมุนเวียนมาอีกครั้ง ปีนี้ไฉไล ขอฉลองปาร์ตี้ด้วยอาหารหน้าตาสวย สีสันสดใส ใส่ดีไซน์สีฟ้า-แดง-ขาว เป็นทั้งอาหารตา อิ่มท้องสบายๆ
ใกล้ถึงวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปีทีไร ใจก็นึกอยากจะสังสรรค์กับเพื่อนพ้องน้องพี่ฉับพลัน อย่างนั้นก็ต้องสรรหา "คอนเซ็ปต์" สนุกๆที่ได้ทั้ง ความสุขทางตา ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว อิ่มกายเอิบใจในคราวเดียว
เราจึงเดินทางไปพบกูรูด้านการตกแต่งอาหารอย่าง สุทธิพงษ์ สุริยะ หรือพี่ขาบ ฟู้ดสไตลิสคนเก่ง คอลัมนิสต์ประจำของเรา ขอความเห็นและไอเดียใหม่ๆ

ประจำเทศกาลคริสต์มาสปี 2555
"สิ่งที่ต้องคิดก่อน คือสี แน่นอนว่าคริสต์มาสหนีไม่พ้น ขาว แดง ทอง แต่ปีนี้เราโฟกัสที่ขาวและแดง ในส่วนของเมนูอาหาร ส่วนสีทอง ซึ่งมีความคลาสสิก โก้ หรู เราจะนำมาประกอบฉาก ตกแต่งสถานที่ และปีนี้เด็ดกว่าเดิม เราจะใช้สีฟ้า มาช่วยขับให้สีสันของอาหารแจ่มชัดขึ้น โดดเด่นขึ้น" พี่ขาบเกริ่นก่อนนำเข้าสู่เมนูอาหาร
สำหรับอาหารปาร์ตี้ ฟู้ดสไตลิสแนะนำว่าอาหารคาว ที่มีสีแดง ใช้ได้ทั้งหมด ยกตัวอย่าง ขาไก่อบซอสพริกแดง หรือซอสมะเขือเทศ นำมาเป็นจานหลัก หรือแฮมย่างกับแรดดิช (ผัก) สำหรับฟิงเกอร์ฟู้ด เอาไว้รับประทานเล่น ส่วนเมนูหวานก็ต้องยกให้ขนมกลุ่มสตรอเบอรี่ หรือเค้กที่ประดับด้วยเบอรี่ต่างๆก็ไม่ว่ากัน
พูดอย่างนี้แล้ว นักจัดงานและเชฟเก๋าเกมอาจร้องอ๋อ เร่งจัดเตรียมอุปกรณ์และเมนูได้ทันพลัน แต่ยังมีอีกหลายคนเป็นมือใหม่ พี่ขาบแนะนำว่า ให้เริ่มจากสีแดง-ขาว ตัดสินใจเดินซูเปอร์มาร์เก็ต หรือตลาดสด ก็มองหาวัตถุดิบสีขาวและแดงมาปรุงให้เกิดเป็นเมนูอาหาร เราสามารถค้นคว้าสูตรได้ง่ายๆจากแหล่งความรู้ต่างๆ มากมาย เราก็เลือกเมนูที่เราชอบ มีความหลากหลายของประเภทอาหาร แล้วเลือกใช้แต่วัตถุดิบที่สดสะอาด ดึงศักยภาพของวัตถุดิบแต่ละชนิดออกมาให้มากที่สุด แล้วศึกษาว่าจะปรุงอย่างไร เพราะกระบวนการที่ได้จาก "ราก (ฐาน) " ที่ดี ยังไงก็อร่อย
เคล็ดลับของกูรูนักตกแต่งอาหารอยู่ที่องค์ประกอบ 3 ประการ หนึ่ง-อาหารต้องอร่อย สีสันสวยน่ารับประทาน สอง-การจัดแต่งสถานที่จัดงานต้องสนองคอนเซ็ปต์ ส่งเสริมบรรยากาศคริสต์มาสให้ชัดเจนขึ้น เลือกของขวัญของตกแต่งให้ได้ตามธีมสีที่กำหนดไว้ และสาม-เสน่ห์ที่ทำให้งานครั้งนี้เป็นที่ประทับใจและจดจำไปแสนนาน นั่้นคือ การแสดงมิตรไมตรีจิต อาจเป็นการขอบคุณ ภายหลังเสร็จสิ้นงานจัดเลี้ยง ส่งรูปภาพแขกที่อยู่ในงานไปให้ หรือ จะเพิ่มความใส่ใจลงไปในการ์ดเชิญด้วยการบอกสถานที่จัดงาน บอกตำแหน่งจอดรถเพื่อความสะดวก
มองเรื่องส่วนตัวให้เป็นเรื่องส่วนรวม นี่แหละสูตร (ไม่)ลับของคริสต์มาสปาร์ตี้ปีนี้

นักสร้างภาพ (อาหาร)


 


ทำอาหารอร่อย ก็ใช่ว่าจะมีชื่อเสียงโด่งดัง ถ้าไม่รู้จัก “สร้างภาพ (ลักษณ์)” ให้เป็นมืออาชีพ เคล็ดลับจึงอยู่ที่ “ดีไซน์” หน้าตาอาหารให้โดดเด้ง และทำ “ตัวเอง”ให้มีอัตลักษณ์ หาใครลอกเลียนแบบได้ยาก
15 ปีที่อยู่ในธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้ ขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ กูรูนักสร้างภาพลักษณ์อาหารชื่อดัง มองสถานการณ์ตลาดอาหารอย่างทะลุปรุโปร่ง ไม่ว่าจะอาหารมาจากภัตตาคารหรือร้านตลาดล้วนฟ้องด้วยหน้าตาเป็นสำคัญ
อ้างอิงตัวอย่าง'สากล'
“อาหารเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ คำว่าศาสตร์อยู่ที่สูตรใครสูตรมัน มีโนว์ฮาวกันอยู่แล้ว ส่วนเรื่องของศิลป์ ขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว ซึ่งจะต้องก้าวไปสู่สากลให้ได้โดยใช้ดีไซน์มาปรับ” กูรูด้านการออกแบบและตกแต่งอาหารกล่าว
เรื่องการออกแบบเป็นเรื่องที่เรียนรู้กันได้ บางคนอาจใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์ด้วยตนเองจนเชี่ยวกรำ แต่นั่นไม่ใช่ประตูปิดตายสำหรับคนที่ต้องการเป็น “เชฟมือทอง” เพราะการดีไซน์อาหารให้สากลนั้นเป็นเรื่องง่าย ซึ่งเคล็ดลับอยู่ที่การศึกษา “ระบบการจัดการเชิงศิลปะ”
สุทธิพงษ์ เผยว่า ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจหลักการและทิศทางของศิลปะอาหาร ผู้เกี่ยวข้องด้านอาหารต้องยึดหลักมาตรฐานสากล อย่าง Fresh & Simply ซึ่งพิจารณาได้จากเชฟหรือพ่อครัวทำอาหารอร่อย สูตรเด็ดของพวกเขาคือการใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ ส่วนความเรียบง่ายคือตรรกะของศิลปะ ซึ่งตรงกับเทรนด์แฟชั่นในตอนนี้ที่ว่า สูงสุดคืนสู่สามัญ
ทั้งนี้ ตัวอย่างผู้ทรงอิทธิพลด้านอาหารระดับโลก เช่น ในอังกฤษ Jamie Oliver สามารถผสมผสานความเป็นธรรมชาติและความทันสมัยของวัตถุดิบได้อย่างลงตัว ส่วนทางฝั่งอเมริกา ก็ต้องยกให้ Martha Stewart กับการใช้สไตล์ของตัวเองผลักดันภาพลักษณ์อาหารที่สดใหม่ ต่อด้วยออสเตรเลีย Donna Hay ใช้สีขาวเกลี้ยงเกลามาขับอาหารให้มีความโดดเด่น
นอกจากจะใช้สูตรสำเร็จของ “คน” แล้ว การสร้างสรรค์อาหารฟ้องด้วยภาพ ยังสามารถดึงความสำเร็จของ “แบรนด์สินค้า” อื่นๆมาเชื่อมโยงอ้างอิงได้ด้วย เช่น Muji ที่มีความเรียบง่ายแต่มีดีไซน์ซุกซ่อนอยู่ หรือ Origins สามารถสื่อได้ว่าทุกอย่างมีจุดกำเนิดที่ความเรียบง่าย
ถึงแม้จะมีตัวอย่าง แต่เราไม่อาจก๊อปปี้ได้ทั้งหมด ฉะนั้นสิ่งที่ว่า “เรียบ” สุทธิพงษ์กลับบอกว่าไม่ “ง่าย” เมื่อต้องเอาตัวตนของคนทำอาหารใส่เข้าไปด้วย
สร้างอาหารอย่างมี'สเต็ป'
ในหลักสูตรอบรมอาหารฟ้องด้วยภาพ ซึ่งจัดโดยฟู้ดสไตลิสต์คนเก่ง จะเน้นให้ผู้เรียนเริ่มศึกษาตั้งแต่พื้นฐาน ละลายพฤติกรรมเดิมๆของตัวเองเสียก่อน เพื่อปูทางรับพื้นฐานด้านการสื่อสารอาหาร ด้วยสื่อต่างๆ อาทิ สิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
ตามด้วยหลักสูตรอาหารสร้างเซเลบ (Celebrity) เนื่องจากธุรกิจอาหารสามารถสร้างแบรนด์ด้วยตัวเจ้าของเอง หากแต่ต้องสร้างคุณค่าในตัวเองให้สูงขึ้น
“เราจะสอนกระบวนการอย่างเป็นระบบ (System) และเป็นขั้นเป็นตอน ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนสร้างเนื้อหาให้เป็นสื่อ ทั้งงานเขียน การถ่ายภาพ วิธีการโปรโมท เชื่อมโยงบุคคลกับการทำอาหาร และการควบคุมตัวเองต่อสื่อทีวี แล้วจึงมาถึงการตอกย้ำแบรนด์ด้วยตัวเจ้าของ หรือทำตัวเจ้าของให้เป็นคนดัง” สุทธิพงษ์ กล่าวและว่า ตัวเขาเองก็จะใช้สีขาว-ส้มเป็นสีประจำตัว
ส่วนท้ายสุดคือหลักสูตรอาหารช่วยสังคม ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ให้คนในวงการอาหารได้เข้ามามีส่วนร่วมใช้อาหารเป็นสื่อ อย่างสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนและระดมความเห็นที่หลากหลายของกันและกัน โดยอาศัยระบบเข้ามาจัดการเช่นกัน โดยเปลี่ยนความมีชื่อเสียงหรือศักยภาพนั้นให้เป็นประโยชน์เพื่อสังคม ในลักษณะ CSR ขององค์กร
“แม้ผู้เรียนจะเป็นเจ้าของร้านข้าวแกง ก็สามารถสร้างตลาดของตัวเองได้ด้วยการหาข้อเด่น แล้วก้าวเป็นเซเลบที่ช่วยสังคมได้พร้อมๆ กัน โดยชูจุดเด่นว่า ที่มาของข้าวมาจากชุมชนเกษตรอินทรีย์ทางภาคอีสาน ได้มีโอกาสช่วยเหลือเกษตรกร เราไม่จำเป็นต้องป่าวประกาศ แต่มันอยู่ที่กระบวนการสร้างคุณค่าให้กับอาหารของตัวเองอย่างแยบยล” ขาบ-สุทธิพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย