แต่งตัว"กรีนโชห่วย"ล.เยาวราชแตกต่างอย่างกลมกลืน
"ถ้าจะให้ผมทำ ต้องรีโนเวตร้าน"
นี่
คือ ข้อแม้ของ "อิ๊กคิว-ภาสประภา กันยาวิริยะ" ที่ตั้งไว้กับพ่อแม่
เมื่อรู้อย่างชัดเจนแล้วว่า
ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมารับหน้าที่ในฐานะเป็นทายาทรุ่นที่ 4 ของ "ล.เยาวราช"
ร้านโชห่วยเก่าแก่แห่งย่านการค้าแห่งนี้
ร้านที่เต็มไปด้วยข้าวของ
สารพัดอย่างครบครันร่วม 5,000 รายการ มียอดขายต่อปีอยู่ในหลัก
"ร้อยล้านบาท" หากอยู่ในพื้นที่แสนแคบและขาดระบบโดยสิ้นเชิง
มีเพียงแต่ความเชี่ยวชาญ ชำนาญ และคุ้นชินของผู้ขายเท่านั้นที่จะรู้ว่า จะจัดสรรสินค้าอย่างไร รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนในร้าน
อิ๊ก
คิวสังเกตเห็นว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าประจำ
แถมจะมาซื้อแบบขายส่งมากกว่าขายปลีก เรียกได้ว่า
ลูกค้าขายปลีกนั้นอย่าหวังเลยว่าจะมีวัยรุ่นเข้ามาซื้อหาของ
นอกจากนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาซื้อของฝากเท่านั้น
เขาวิเคราะห์
แล้วว่า
ปัญหาอยู่ที่จำนวนสินค้าที่มีเยอะแยะมากมายที่ถูกวางระเกะระกะไม่เป็นที่
จนลูกค้าไม่สามารถเลือกซื้อได้ อีกทั้งร้านยังปิดเร็วที่ไม่เกิน 20.00 น.
ไม่สอดคล้องกับเวลาที่นักท่องเที่ยวที่ไปเยาวราชเลย
ตรงนี้ทำให้อิ๊กคิวเห็นแล้วว่า ถ้าตกทอดมาถึงรุ่นเขาแล้ว การค้าของ ล.เยาวราช อาจไม่รุ่งเรืองอย่างเช่นที่แล้วมา
"ผม
เองก็ภูมิใจที่ร้านเราอยู่คู่เยาวราชมานาน แต่ถ้าจะให้ผมทำแบบนี้
ผมยอมรับเลยว่า ผมทำไม่ได้ และถ้าให้ผมทำตามแบบนี้ไปเรื่อยๆ ร้านอาจจะค่อยๆ
ซบเซาลงก็เป็นได้"
"อีกประการหนึ่ง คือ
เราเห็นลูกหลานร้านอื่นที่กิจการอื่นล้มหายตายจากไป
เพราะลูกหลานไม่สืบต่อกิจการ ผมกลัวจุดนี้
เพราะเยาวราชก็เริ่มมีโมเดิร์นเทรดเข้ามาแล้วด้วย
ผมจึงอยากสร้างโชห่วยที่อยู่มานานให้มีสีสันเพื่อที่จะได้อยู่คู่เมืองไทย
ต่อไป"
ในฐานะคนรุ่นใหม่ เขาจึงเลือกที่จะคิดใหม่ ทำใหม่
โดยเขาไม่ได้คิดแค่จะเปลี่ยนแปลงแค่ร้านของเขา
แต่เขาคิดที่จะพลิกโฉมเยาวราชให้แปลกและแตกต่างกว่าที่เป็นอยู่ โดยมองว่า
เยาวราชก็ควรจะ "ชิก" ได้
"ผมสนใจเรื่องสไตล์
เพราะในปัจจุบันไม่ว่าทำอะไร เราต้องมีสไตล์ที่แตกต่าง
โชห่วยของเราจึงต้องแปลกและโดดเด่น ทำให้คนมองเรื่องแบรนด์ เรื่องดิสเพลย์
เรื่องเหล่านี้จำเป็นมากในบ้านเรา"
อิ๊กคิว ยอมรับว่า เขาต้องใช้พลังมากมายในการเปลี่ยนความคิดของพ่อแม่ แต่เขาก็มีอาอี๊ คอยหนุนหลัง และในที่สุดอิ๊กคิวก็ชนะ
แต่...พ่อกับแม่ก็มีข้อแม้เช่นกัน "ทำก็ได้ แต่ห้ามปิดร้านสักวันเดียว"
ได้...อิ๊กคิว ตอบ
อิ๊กคิวตั้งคอนเซ็ปต์ของร้านนี้ให้ออกมาในรูปของ "กรีนเยาวราช" พร้อมกับจัดทำโลโก้เป็น "ดอกโบตั๋น" สีชมพูหวาน
"ผม
ไปปรึกษาพี่ขาบ (สุทธิพงษ์ สุริยะ) ก็เห็นว่า เยาวราชนั้นไม่มีสีเขียวเลย
มีแต่สีแดงๆ เต็มไปหมด ดังนั้น ถ้าเราเบรกด้วยสีเขียว
โดยเราจัดพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้เป็นแนวดิ่งระตึกลงมา
เพื่อเป็นปอดของเยาวราช มาตัดกับโลโก้ดอกโบตั๋นสีชมพู ร้านเราจะเด่นขึ้น"
ส่วน
การตกแต่งภายในนั้น ในพื้นที่อันจำกัดร้านเล็กขนาดคูหาเดียว
เขาวางไว้ว่าจะจัดให้สินค้าทั้ง 5,000 รายการนั้น
อยู่ชิดผนังทั้งซ้ายขวาจัดให้เป็นเครื่องตกแต่งร้านเสีย ดังนั้น
จึงต้องมีการปรับปรุงผนังและติดชั้นวางของ รวมทั้งปรับเปลี่ยนสีใหม่
ด้วยใช้วิธีกั้นพื้นที่ยาวตลอดห้องทีละด้าน
เพื่อให้ร้านยังสามารถค้าขายได้ทุกวันตามข้อแม้ที่วางไว้
นอกจากนั้น
แล้ว "สี" ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เขาต้องต่อสู้อีกครั้ง
เพราะเขาเลือกที่จะใช้ "สีดำ"
ด้วยมีวัตถุประสงค์ที่จะขับสีสันของสินค้าในร้านให้โดดเด่นขึ้นมา
อีกทั้งยังใช้ "โคมเขียว" แต่งที่เพดานร้านอีกด้วย
"ผมโดนตั้งแต่ใน
บ้าน ญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่เขาจะเดินมาแล้วบอกว่า ผมทำอะไร
ไม่เป็นมงคล หม่าม้าผมก็เหมือนกัน ผมก็เลยบอกไปว่า
นี่มันเป็นสีเทาเข้มต่างหาก ดูดีๆ ไม่ใช่สีดำ (หัวเราะ)
ส่วนเรื่องโคมเขียวนั้น อยู่ที่ไม่อยากปล่อยเพดานให้โล่ง
จึงคิดใช้โคมไม้ไผ่จีนปิดกระดาษเขียวมาตกแต่ง
ทำให้ร้านมีสีสันสวยงามมากยิ่งขึ้น"
อิ๊กคิว
ใช้เวลาปรับปรุงร้านนานถึง 1 ปี กว่าจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมโชว์ภาพลักษณ์ทั้ง
100 เปอร์เซ็นต์ พร้อมจัดหน้าร้านให้สวยงามเตะตา
ด้วยจักรยานทรงโบราณประดับดอกโบตั๋น และตุ๊กตาหมี
กลายเป็นจุดแวะถ่ายรูปโพสต์ขึ้นเฟซบุ๊กยอดฮิตบนถนนเยาวราชโดยบัดดล
อีก
ทั้งยังแอบสร้างแบรนด์ โดยนำเอาขนมขบเคี้ยวที่ค้าขายอยู่แล้ว
มาติดโลโก้โบตั๋นสีสวย สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า
จนกลายเป็นสินค้าของฝากที่ขายดิบขายดีได้อย่างคาดไม่ถึง
อีกทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนเครื่องหมายการค้าเป็น LOR YAOWARAJ BANGKOK
อย่างเป็นทางการ
แม้รูปลักษณ์ร้านจะเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว แต่
ล.เยาวราช ยังคงยืนหยัดในความเป็นร้านโชห่วยที่เน้นขาย "ของดี" และ "ถูก"
อย่างเหนียวแน่น โดยภาคกลางวันยังทำเรื่องของค้าส่งเช่นเดิม ส่วนภาคกลางคืน
ล.เยาวราช
ขยายเวลาเปิดร้านถึงเที่ยงคืนเพื่อให้สัมพันธ์กับเวลาของนักท่องเที่ยว
ผล
จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ล.เยาวราช ไม่เพียงแต่จะคงรักษาลูกค้าดั้งเดิมไว้ได้
โชห่วยแห่งนี้ยังได้คนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวมาเป็นลูกค้าเพิ่มอีกมากมาย
ช่วยกระตุ้นยอดขายปลีกให้ขยับขึ้นด้วย
ถึงเวลานี้อิ๊กคิวมั่นใจแล้วว่า แม้โมเดิร์นเทรดจะบุกเข้าเยาวราชสักแค่ไหน ล.เยาวราช ภายใต้การขับเคลื่อนของเขา ไม่มีกลัวอยู่แล้ว
"ผม
ว่า โชห่วยแบบเดิมนี้มันมีเสน่ห์มากกว่าที่จะเข้าไปซื้อของในโมเดิร์นเทรด
เพราะต้องบอกว่า คนขายของโชห่วยเขาเก่งมาก เขาจะรู้หมดเลยว่า
สินค้าไหนเป็นอะไร ควรจะใช้อย่างไร อย่างเช่น เราจะไปซื้อซีอิ๊วสักขวด
เราจะรู้ไหมว่า สูตรอะไร ฝาสีอะไรนั้นต่างกันอย่างไร
คนขายเขาจะบอกจะแนะนำได้ ส่วนการบริการก็จะเป็นออกแนวครอบครัว
รู้จักสนิทสนมกันหมดซึ่งเรื่องแบบนี้ โมเดิร์นเทรด ไม่มี"
นอกจากการ
ขายส่งและขายปลีกในประเทศแล้ว
โชห่วยแห่งนี้ยังมีการส่งออกไปตลาดต่างประเทศควบคู่ไปพร้อมๆ กัน โดยผ่าน
บริษัท ล.ธนวงศ์ (1977) จำกัด อีกด้วย
นับเป็นความแตกต่างที่แสนจะกลมกลืนบนถนนสายนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น